วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ฟิสิกส์

ฟิสิกส์ (Physics) เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาธรรมชาติ     ของสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ           และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา การค้นคว้าหาความรู้ทางฟิสิกส์ทำได้โดยการสังเกต การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสรุปเป็นทฤษฎี หลักการหรือกฎ ความรู้เหล่านี้สามารถนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือทำนายสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และความรู้นี้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ใหม่เพิ่มเติมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์



  1. ฟิสิกส์ คือ การศึกษากฎธรรมชาติ
  2. ฟิสิกส์ คือ วิทยาศาสตร์ที่อธิบายวัตถุและพลังงาน
  3. ฟิสิกส์ คือ พื้นฐานของวิทยาศาสตร์ทั้งมวล
  4. ฟิสิกส์ คือ ความรู้ที่ได้จากการศึกษาและรวบรวมจากปรากฎการณ์ธรรมชาติ

ฟิสิกส์ คือ 
ฟิสิกส์เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์ดังนั้นก่อนที่เราจะเข้าใจความหมายของฟิสิกส์เราก็ควรทำความความใจความหมายของวิทยาศาสตร์กันก่อนนะครับ
วิทยาศาสตร์  มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Science ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า Scientia ซึ่งแปลว่า  ความรู้  เป็นวิชาที่ศึกษาความจริงของธรรมชาติโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
–  วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (ฺBiological Science) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตได้แก่ พืชและสัตว์
–  วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) ศึกษาเฉพาะสิ่งไม่มีชีวิต แบ่งออกเป็น หลายสาขา ได้แก่  ฟิสิกส์  เคมี ธรณีวิทยา ดาราศาสตร์  เป็นต้น
ฟิืสิกส์เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ซึ่งเมื่อพิจารณาความหมายของฟิสิกส์ มาจากภาษาอังกฤษว่า Physics ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า Phusikos ซึ่งหมายถึง ธรรมชาติซึ่งศึกษาเกี่ยวกับสสาร (Matter) และพลังงาน (Energy) ซึ่งแบ่งออกเป็นแขนงต่างๆ ได้แก่ กลศาสตร์  ความร้อน  แสง  เสียง  ไฟฟ้า  แม่เหล็ก  ฟิสิกส์อะตอม  ฟิสิกส์นิวเคลียร์
ที่มาของความรู้ทางฟิสิกส์
ความรู้ทางฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์มีที่มาจากกระบวนการ 2 อย่าง คือ
–  จากการสังเกตปรากฏการทางธรรมชาติ การทดลอง บันทึกผลการทดลอง วิเคราะห์ผลการทดลอง แปลความหมายและสรุปผลอันนำไปสู่การค้นพบทฤษฏีและกฏทางฟิสิกส์
–  จากการสร้างแบบจำลองทางความคิดอย่างมีเหตุผล ซึ่งแตกต่างจากทฤษฏีเดิมที่ได้รับการยอมรับ เช่น ทฤษฏีกำเนิดเอกภพ  ทฤษฏีสัมพัทธภาพ เป็นต้น
 ข้อมูลในการศึกษาฟิสิกส์
ในการศึกษาความรู้ทางฟิสิกส์นั้นข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ข้อมูลเชิงคุณภาพ  เป็นข้อมูลที่ได้จากการบรรยายสภาพของสิงต่างๆที่สังเกตได้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์  ไม่สามารถนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกันได้
2. ข้อมูลเชิงปริมาณ  เป็นข้อมูลที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือวัดโดยตรงหรือโดยอ้อมสามารถกำหนดตัวเลขให้กับปริมาณที่วัดและสามารถนำตัวเลขที่ได้จากการวัดมาเปรียบเทียบกันได้  และข้อมูลชนิดนี้ต้องมีหน่วยกำกับ เช่น ระยะทางมีหน่วยเป็น เมตร  เวลามีหน่วยเป็นวินาที เป็นต้น
การวัด  หมายถึง  การกำหนดตัวเลขให้กับสิ่งต่างๆที่เราต้องการวัดซึ่งทำได้ 2 วิธี คือ
1.  การใ้ช้ประสาทสัมผัส  (ใช้กับข้อมูลเชิงคุณภาพ)
2. การใช้เครื่องมือวัอ (ใช้กับข้อมูลเชิงปริมาณ)
เราจะศึกษาละเอียดเกี่ยวกับการวัดในหัวข้อ การวัด


ทฤษฎี สูตร ของฟิสิกส์

                             ทฤษฎีต่างๆของฟิสิกส์                  

การแปลงฟูรีเย

การแปลงฟูรีเยแบบต่อเนื่อง

โดยปกติแล้วคำ "การแปลงฟูรีเย" จะใช้หมายถึง การแปลงฟูรีเยต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเขียนแทน ฟังก์ชัน f (t) ที่สามารถหาปริพันธ์ของกำลังสองได้ ด้วยผลบวกของ ฟังก์ชัน เอกซ์โปเนนเชียลเชิงซ้อน ซึ่งมี ความถี่เชิงมุม ω และ ขนาด (หรือ แอมปลิจูด) เป็นจำนวนเชิงซ้อน F (ω) ;
ความสัมพันธ์ด้านบนคือ การแปลงกลับของ การแปลงฟูรีเยแบบต่อเนื่อง (Inverse Fourier transform) ส่วนการแปลงฟูรีเยนั้นปกติจะเขียน F (ω) ในรูปของ f (t) คู่ของ ฟังก์ชันดั้งเดิม และ ผลของการแปลงของฟังก์ชันนั้น บางครั้งก็เรียก คู่ของการแปลง (transform pair) ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ การแปลงฟูรีเยต่อเนื่อง ภาคขยายของการแปลงนี้คือ การแปลงฟูรีเยแบบไม่เป็นจำนวนเต็ม (fractional Fourier transform) ซึ่งค่ายกกำลังของการแปลง (จำนวนการแปลงซ้ำ) นั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นจำนวนเต็ม สามารถเป็นค่าจำนวนจริงใดๆ
เมื่อ f (t) เป็น ฟังก์ชันคู่ (ฟังก์ชันคี่) เทอม ไซน์ (โคไซน์) จะไม่ปรากฏ ซึ่งคงเหลือไว้แต่ การแปลงโคไซน์ และ การแปลงไซน์ ตามลำดับ อีกกรณีหนึ่งคือ เมื่อ f (t) เป็นฟังก์ชันค่าจริง จะทำให้ F(−ω)  = F (ω) *

อนุกรมฟูรีเย

การแปลงฟูรีเยต่อเนื่องนั้นเป็นภาคขยาย ของแนวความคิดที่เกิดก่อนหน้านั้น คือ อนุกรมฟูรีเย ซึ่งเป็นการเขียนแทน ฟังก์ชันคาบ (หรือฟังก์ชัน ในโดเมนจำกัด) f (x) (มีคาบ 2π) ด้วย อนุกรม ของฟังก์ชันรูปคลื่น:
ซึ่ง  เป็น ค่าจำนวนเชิงซ้อนของขนาด หรือ ค่าจริงของขนาดเมื่อ ฟังก์ชันเป็นฟังก์ชันค่าจริง อนุกรมฟูรีเยยังอาจเขียนในรูป:
โดย an และ bn เป็นค่าจำนวนจริงของขนาด ของอนุกรมฟูรีเย

การแปลงฟูรีเยไม่ต่อเนื่อง

สำหรับการคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ค่าสัญญาณในทั้งสองโดเมนจำเป็นต้องมีค่าเป็นดิจิทัล ซึ่งคือฟังก์ชันค่าไม่ต่อเนื่อง  บนโดเมนไม่ต่อเนื่อง แทนที่จะเป็นโดเมนต่อเนื่อง ในช่วงจำกัด หรือ เป็นคาบ ในกรณีนี้เราจะใช้ การแปลงฟูรีเยไม่ต่อเนื่อง (discrete Fourier transform-DFT) ซึ่งเขียนแทน  ด้วยผลบวกของฟังก์ชันคาบ
โดยที่  คือ ค่าขนาดบนโดเมนการแปลง การคำนวณจากสมการข้างต้นจะใช้ความซับซ้อนในการคำนวณ O (N2) ซึ่งสามารถลดลงเหลือเพียง O (N log N) โดยการใช้ขั้นตอนวิธี การแปลงฟูรีเยอย่างเร็ว (fast Fourier transform-FFT)

รูปแบบอื่นๆ

DFT เป็นกรณีที่เป็นฟังก์ชันไม่ต่อเนื่องบนทั้งสองโดเมน ซึ่งบางครั้งใช้ในการประมาณค่าของ การแปลงฟูรีเยเวลาไม่ต่อเนื่อง (discrete-time Fourier transform-DTFT) ซึ่ง  เป็นค่าไม่ต่อเนื่องบนโดเมนที่ไม่จำกัด ดังนั้นจึงมีสเปกตรัมเป็นค่าต่อเนื่อง และเป็นคาบ DTFTเป็นความสัมพันธ์ตรงข้ามกับ อนุกรมฟูรีเย
การแปลงฟูรีเย สามารถขยายความการแปลงบน อาบีเลียนโทโพโลยีกรุ๊ปใดๆ ที่คอมแพคเฉพาะที่ (locally compact abelian topological group) เป็นการแปลงจากกรุ๊ปหนึ่งไปยังกรุ๊ปคู่ของมัน ซึ่งเป็นหัวข้อใน การวิเคราะห์ฮาร์โมนิก (harmonic analysis) ภายใต้การขยายความนี้ทำให้สามารถ สร้างความสัมพันธ์ทั่วไปของ ทฤษฎีการคอนโวลูชัน (en:convolution theorem) ซึ่งเป็นทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่าง การแปลงฟูรีเย และ การคอนโวลูชัน ดู ความเป็นคู่ของพอนเทรียกิน (en:Pontryagin duality) สำหรับพื้นฐานภาคขยายความของการแปลงฟูรีเย
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีภาคขยายเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลความถี่ ณ.จุดเวลาใดๆ คือ การแปลง เวลา-ความถี่ (Time-frequency transform) เช่น การแปลงฟูรีเยช่วงเวลาสั้น (short-time Fourier transform) การแปลงเวฟเลท (wavelet transformการแปลงเชิพเลท (chirplet transform) และ การแปลงฟูรีเยแบบไม่เป็นจำนวนเต็ม (fractional Fourier transform) เป็นการแปลงซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการคำนวณ ข้อมูลความถี่ ของสัญญาณ ในรูปฟังก์ชันของเวลา ความสามารถในการคำนวณหาข้อมูลบนทั้งโดเมนเวลา และ ความถี่พร้อมๆ กันนั้นจะถูกจำกัดโดย กฎความไม่แน่นอน (uncertainty principle)

การแปลงในตระกูลการแปลงฟูรีเย

ตารางด้านล่างสรุปการแปลงทั้งหมดที่อยู่ในตระกูลเดียวกับการแปลงฟูรีเย จะสังเกตเห็นว่าความต่อเนื่องหรือความไม่ต่อเนื่องในโดเมนหนึ่ง จะส่งผลให้เกิดความเป็นคาบหรือความไม่เป็นคาบในอีกโดเมนหนึ่ง นอกจากนั้นแล้วการมีค่าเป็นจำนวนจริงในโดเมนหนึ่ง จะส่งผลให้เกิดความสมมาตรในอีกโดเมน


การแปลงเวลาความถี่
การแปลงฟูรีเยต่อเนื่องต่อเนื่อง, ไม่เป็นคาบต่อเนื่อง, ไม่เป็นคาบ
อนุกรมฟูรีเยต่อเนื่อง, เป็นคาบไม่ต่อเนื่อง, ไม่เป็นคาบ
การแปลงฟูรีเยเวลาไม่ต่อเนื่องไม่ต่อเนื่อง, ไม่เป็นคาบต่อเนื่อง, เป็นคาบ
การแปลงฟูรีเยไม่ต่อเนื่องไม่ต่อเนื่อง, เป็นคาบไม่ต่อเนื่อง, เป็นคาบ


ความโน้มถ่วงเชิงควอนตัม

ทฤษฎีโน้มถ่วงเชิงควอนตัม (อังกฤษQuantum Gravity: QG) เป็นทฤษฎีที่พยายามรวม กลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งอธิบายแรงพื้นฐาน สามแรงคือ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม และแรงนิวเคลียร์แบบอ่อน เข้ากับ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ ซึ่งใช้อธิบายแรงโน้มถ่วง เป้าหมายของทฤษฎีนี้ก็คือ การอธิบายทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปในระดับพลังงานสูง และ ทฤษฎีควอนตัมในระดับสเกลใหญ่ภายใต้กฎหนึ่งเดียวเป็นทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง (Theory of Everything: TOE)

ทฤษฎีสตริง

ทฤษฎีสตริง เป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สำหรับฟิสิกส์เชิงทฤษฎี ที่มี บล็อกโครงสร้าง (building blocks) เป็นวัตถุขยายมิติเดียว (สตริง) แทนที่จะเป็นจุดศูนย์มิติ (อนุภาค) ซึ่งเป็นพื้นฐานของแบบจำลองมาตรฐานของฟิสิกส์อนุภาค นักทฤษฎีสตริงนั้นพยายามที่จะปรับแบบจำลองมาตรฐาน โดยการยกเลิกสมมุติฐานในกลศาสตร์ควอนตัม ที่ว่าอนุภาคนั้นเป็นเหมือนจุด ในการยกเลิกสมมุติฐานดังกล่าว และแทนที่อนุภาคคล้ายจุดด้วยสตริงหรือสาย ทำให้มีความหวังว่าทฤษฎีสตริงจะพัฒนาไปสู่ทฤษฎีสนามโน้มถ่วงควอนตัมที่เข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ทฤษฎีสตริงยังปรากฏว่าสามารถที่จะ "รวม" แรงธรรมชาติที่รู้จักทั้งหมด (แรงโน้มถ่วง, แรงแม่เหล็กไฟฟ้า, แรงอันตรกิริยาแบบอ่อน และแรงอันตรกิริยาแบบเข้ม) โดยการบรรยายด้วยชุดสมการเดียวกัน
ทฤษฎีสตริงถือเป็นทฤษฎีที่อาจเป็นทฤษฎีโน้มถ่วงเชิงควอนตัมที่ถูกต้อง แต่ยังมีทฤษฎีอื่นๆ ที่ถือว่าเป็นคู่แข่ง เช่น ความโน้มถ่วงเชิงควอนตัมแบบลูป (Loop Quantum Gravity:LQG หรือ Quantum General Relativity; QGR), ไดนามิกส์แบบคอสชวลของสามเหลี่ยม (Causual Dynamics Triangulation: CDT), ซูเปอร์กราวิตี(Supergravity) เป็นต้น
19 ตุลาคม 2553 ทฤษฎีสตริงหลายมิติ = จักรวาลคู่ขนาน อธิบายโดยใช้ตรรกะทางคณิตศาสตร์ (logic)

ทฤษฎีสนามควอนตัม

ทฤษฎีสนามควอนตัม (อังกฤษQuantum Field Theory หรือ QFT) คือทฤษฎีควอนตัมของสนามพลังงาน หรือ การใช้ทฤษฎีควอนตัมมาใช้กับระบบที่มีอนุภาคจำนวนมาก เพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ทาง อิเล็กโตรไดนามิกส์ (โดยการควอนตัมสนามแม่เหล็กไฟฟ้า) เรียกว่าพลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัม (Quantum Electrodynamics) ต่อมาได้ขยายกรอบทางทฤษฎีเพื่ออธิบายสนามของแรงนิวเคลียร์แบบอ่อนร่วมด้วย เรียกว่าทฤษฎี อิเล็กโตร-วีก (Electro-Weak Theory) และเป็นพื้นฐานสำหรับการอธิบายแรงนิวเคลียร์แบบเข้มที่เรียกว่า ควอนตัมโครโมไดนามิกส์ (Quantum Chromodynamics) ทฤษฎีสนามควอนตัม (QFT) เป็นกรอบทฤษฎีสำหรับการสร้างแบบจำลองทางกลศาสตร์ควอนตั้มของสนามและระบบหลาย ๆ อย่างของวัตถุ (อยู่ในบริบทของสสารควบแน่น) ระบบทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนของระบบแบบคลาสสิกโดยเป็นจำนวนอนันต์ขององศาอิสระ

สูตรฟิสิกส์เบื้องต้น

ความยาว มวล และเวลามาตรฐาน
เนื่องจากชีวิตประจำวันของเราจะเกี่ยวข้องกับการวัดมาตลอด เช่น ความยาว มวล เวลา เป็นต้นดังนั้นวิธีการวัด และเครื่องมือที่ใช้วัดจะต้องมีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อประโยชน์ต่อการสื่อสารระหว่างกัน
ก.ความยาวมาตรฐาน มีหน่วยเป็น เมตร มาตรฐานของความยาวหนึ่งเมตร ซึ่งกำหนดเมื่อเดือนตุลาคม พ. ศ. 2526 กำหนดไว้ว่า
1 เมตร คือระยะทางที่แสงเดินทางในสุญญากาศในช่วงเวลา  วินาที
ตาราง 2.1 ขนาดความยาวบางค่าที่น่าสนใจ


แรงมวลและการเคลื่อนที่
ตัวอย่าง
จากรูป มวล m และ 2m วางห่างกันเป็นระยะ r1 และ rโดยที่ r1 เท่ากับ r และ r2 เท่ากับ 2r จงคำนวณแรงที่กระทำกับมวล m ทั้งนี้การทดลองนี้อยู่นอกสนามความโน้มถ่วงของมวลใดๆ
ทั้งสิ้น
วิธีทำ
ให้ F1 และF2 เป็นแรงดึงดูดระหว่างมวน m และ 2m ดังรูป ขนาดของแรง F1 และ F2 สามารถคำนวณได้จากสมการ (7-3 ) ดังนี้